บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ต้นกำเนิดของ "บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป"
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ที่ถูกเรียกว่า "มาม่า" ทั้งๆ ที่มาม่า
เป็นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อที่ 4 ที่ผลิตขึ้นในประเทศไทย
นับจากยี่ห้อแรกคือ ซันวา ถือกำเนิดขึ้นในปี 2514-15 ตามมาด้วย
ยำยำ ไวไว และมาม่า ในเวลาไล่เลี่ยกันจนกระทั่งปัจจุบัน
ขณะที่คนไทยบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากถึง 5-6 ล้านซองต่อวัน
และในจำนวนนี้มียี่ห้อมาม่ามากกว่า
ต้นกำเนิด
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มีต้นกำเนิดที่ประเทศจีนซึ่งเรียกว่า “รัวเมง” แต่ภาษาญี่ปุ่นออกเสียงเป็น”ราเมน” เส้นบะหมี่ถือเป็นสัญญลักษณ์อันโดดเด่นของวัฒนธรรมของประเทศจีน
เพราะเส้นที่ยาวหมายถึงอายุที่ยืนนานอาหารประเภทนี้จะมีการเสริฟกันในงานวันเกิดคนจีน
เหมือนกับที่เค้กจะเป็นสัญญลักษณ์ของวันเกิดของคนตะวันตก รา เมนเป็นที่นิยมชมชอบของคนเมืองซับโปโรที่เกาะฮอกไกโดที่อยู่ทางตอนเหนือของ
ญี่ปุ่นถึงขั้นเป็นเมนูอาหารหลักกันทีเดียวราเมนถูกดัดแปลงให้เป็นบะหมี่
สำเร็จรูปหรือinstant noodle ซองแรกของโลก โดยฝีมือของชาวญี่ปุ่น คุณ Momofuku Ando "โมโมฟูกุอันกุ"
ญี่ปุ่น ผู้ก่อตั้งบริษัทนิชชิน ฟู้ด โดยเริ่มคิดค้น "บะหมี่สำเร็จรูป"เมื่อต้นเมื่อปีค.ศ. 1956 ในสมัยหลังสงครามโลก
คนญี่ปุ่นต้องกินขนมปังซึ่งต้องผลิตจากแป้งที่มาจากอเมริกา
คุณแอนโดรเห็นเช่นนั้นจึงคิดว่า
ทำไมถึงคนญี่ปุ่นถึงทานขนมปังกันแทนที่จะเป็นบะหมี่
เขาจึงพยายามผลิตบะหมี่ที่สามารถเก็บไว้กินได้นานขึ้นและสะดวกในการรับประทาน
ในขณะนั้น บริษัทที่ทำก็เป็นเพียงแค่บริษัทเล็กๆ วัตถุดิบที่มีก็ไม่พอเพียง
แต่เขาก็ยังตั้งหน้าตั้งตาพัฒนาบะหมี่ของเขานี้ต่อไปด้วยตัวของเขาเอง และในวันที่ 25 สิงหาคม 1958 ขณะที่เขาอายุ 48 ปี
หลังจากการทดลองที่ผิดพลาดครั้งแล้วครั้งเล่า ในที่สุดเขาก็ทำบะหมี่สำเร็จรูปของเขาเองสำเร็จจนได้
รส "ชิกเก้นราเมน" ภายใต้ยี่ห้อนิชชิน โดยขายในราคา 35 เยน
และหลังจากนั้นได้ขยายตัวสู่ตลาดโลกเริ่มจากตลาดอเมริกาเป็นแห่งแรกในปี ค.ศ. 1970 ในชื่อว่าท้อป
ราเมน และหลังจากนั้นเขาก็เริ่มขายในรูปแบบของบะหมี่ถ้วย ในวันที่ 18 สิงหาคม 1971 ด้วยราคาที่ถูกลง
ซึ่งนั่นก็เป็นจุดเริ่มของตำนานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปนี้เอง จนเมื่อ 30 ปีก่อน
(ปี 1972) เทียม โชควัฒนา คือ ผู้ก่อตั้งอาณาจักรสหพัฒน์
และเป็นผู้เริ่มผลิตและ เริ่มทำตลาดอย่างจริงจัง
ข้อมูลที่น่าสนใจ : คุณ Momofuku
Ando "โมโมฟูกุอันกุ" ได้เสียชีวิตแล้วจากอาการหัวใจล้มเหลวเมื่อวันศุกร์ที่ 5 มกราคม2007 ที่เพิ่งผ่านมานี้
ด้วยวัย 96 ปีครับ
บะหมี่ยี่ห้อนิชชินเป็นยี่ห้อแรกที่ถูกผลิตขึ้นโดยเขาผู้นี้แหล่ะ

ประวัติม่าม่า
มาม่าได้มีการผลิตครั้งแรกในปี พ.ศ. 2516 แม้ว่าจะมีบะหมี่สำเร็จรูปยี่ห้ออื่นอีกในตลาดของประเทศไทย เช่น ยำยำไวไวกุ๊งกิ๊ง และอื่นๆเป็นต้น และ "มาม่า" ได้กลายเป็นชื่อที่ติดปากของคนไทยในการกล่าวถึงบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
ผลิตภัณฑ์
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำกุ้ง
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำน้ำข้น
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำเส้นชาเขียว
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสเป็ดพะโล้
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสผัดขี้เมาแห้ง
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสหมูน้ำตก
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ออเรียนทัลคิตเชน รสโคเรียน สไปซ์
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ออเรียนทัลคิตเชน รสฮอตแอนด์สไปซี่
บะหมี่แห้งกึ่งสำเร็จรูป ออเรียนทัลคิตเชน รสหมี่โกเล้ง
บะหมี่มาม่าเจ รสต้มยำ
บะหมี่มาม่าเจร สเต้าหู้เห็ดหอม
บะหมี่มาม่าเย็นตาโฟ
บะหมี่มาม่าหมูต้มยำ
บะหมี่โฮลวีตกึ่งสำเร็จรูป รสหมูพริกไทยดำ
ความง่าย อร่อย และราคาถูก ทำให้ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุด จนอาจจะพูดได้ว่า "ทุกวันนี้อาหารที่คนทั่วโลกรับประทานมากที่สุดคือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป" ก็คงไม่ผิดจากความเป็นจริงเท่าไหร่
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีต้นกำเนิดมาจาก ประเทศญี่ปุ่น โดยนาย อันโด โมโมฟุกุ ผู้ก่อตั้งและประธานกลุ่มบริษัท นิชชิน
วันที่ 25 สิงหาคน ปี 1958 ซึ่งเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นประสบกับปัญหาข้ามยากหมากแพง ทำให้ชาวญี่ปุ่นต้องทานแต่อาหารที่ราคาถูกและสะดวกในการทำหรือหาทาน ซึ่งก็คือ ราเมน
วันหนึ่งของฤดูหนาวในโอซาก้า นาย อันโด ได้เห็นสภาพของชาวญี่ปุ่นที่ยืนเข้าแถวยาวเหยียด เพียงเพื่อรอทานราเมนแค่ 1 ชาม เพื่อเป็นอาหารคลายหนาว ทำให้นาย อันโด ได้พยายามคิดค้น ราเมนที่ สามารถทำทานเองที่บ้าน เก็บไว้ได้นาน และราคาถูก ขึ้นมา จนในที่สุดก็ได้ "ชิกิ้นราเมน" ขึ้นมา
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในตอนแรก ทำโดยนำเส้นราเมนที่ได้จากผสมกับน้ำซุปกระดูกไก่(โทริคะระ) ทอดในน้ำมันปาล์มเพื่อไล่ความชื้นออกไป ทำให้เก็บไว้ได้นานและแค่เพียงเติมน้ำร้อน เส้นก็จะคืนสภาพเดิมสามารถกินได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องปรุงอะไรเพิ่มเติมเลย เพราะว่าเส้นผสมกับน้ำซุปกระดูกไก่แล้ว (ในตอนแรก ชิกิ้นราเมนมีราคาอยู่ที่ 35 เยน)ในปัจุบัน ชิกิ้นราเมน ก็ยังเป็นรสที่ขายดี ที่ยังคงความอร่อยมาอยู่ถึงทุกวันนี้
ต่อมา นาย อันโด ก็ได้ ก่อตั้งบริษัทนิชชินขึ้นมา และได้พัฒนาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสชาติและรูปแบบอื่นๆขึ้นมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น "คัพเมน" ที่ได้แนวคิดมาจากการทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของคนอเมริกา (ในตอนแรกนั้นภาชนะที่ทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจะเป็น ชาม แต่เพียงอย่างเดียว) สำหรับ คัพเมน(หรือคัพนู้ดเด้ล)นั้นยังมีเกร็ดที่มาของความนิยมอยู่ คือในตอนแรกนั้น ยังไม่เป็นที่นิยมเท่าไหร่นัก จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์การลักพาตัวประกันโดยกลุ่มต่อต้านจักรวดิญี่ปุ่น ที่จังหวัดนากาโน่
ในเวลานั้นได้มีการถ่ายทอดสดตลอดเวลา ต่อเนื่องเป็นเวลาถึง 10 วัน อีกทั้งยังเป็นเหตุการณ์ที่มีผู้ชมมากที่สุดในประวัติศาสตร์โทรทัศน์ญี่ปุ่น(90%) และนอกจากภาพเหตุการณ์การละกพาตัวประกันแล้ว ยังมีภาพของคนที่กำลังทาน คัพนู้ดเด้ลในสถานที่เกิดเหตุด้วย (ปกติคนญี่ปุ่นจะทานข้างกล่องหรือ เบ็นโตะ แต่ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์นั้น เป็นช่วงอากาศหนาวเย็น ทำให้ข้าวกล่องแข็งจนทานไม่ได้)
คนญี่ปุ่นจึงได้รู้จัก คัพนู้ดเดิ้ล ในวงกว้าง และเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกจนเป็นอาหารที่คนทานมากที่สุดในโลก(ถ้าจะย้อนประวัติของ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป คงต้องย้อนไปถึง "โลเมียง" ซึ่งเป็นภาษาจีน ที่แปลว่า "บะหมี่ที่ต้มแล้ว" บะหมี่แบบจีนเป็นอาหารที่นิยมอย่างมากในเมืองซับโปโร และพื้นที่อื่นของประเทศญี่ปุ่น)
สำหรับประเทศไทย บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้เข้ามาราวปี พ.ศ. 2514-2515 บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อแรกในประเทศคือ "ซันวา" ที่มีต้นแบบมาจากบะหมี่ญี่ปุ่นที่ต้องต้มก่อนทาน ส่วน "มาม่า" เป็นยี่ห้อที่ 3-4 ของประเทศไทย หาใช่ ยี่ห้อแรกอย่างที่ใครๆเข้าใจกัน
"มาม่า" จัดเป็น "Generic Name" หรือชื่อสามัญที่คนไทยในปัจจุบันใช้เรียก บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งแสดงถึงPowerของยี่ห้อ มาม่าได้เป็นอย่างดี(จากการสำรวจของบริษัท ซินโนเวต ในปี 2007 มาม่าเป็นตามสินค้าอันดับ 2 ที่ผู้บริโภคชาวไทยนึกถึง ส่วนอันดัน 1 คือ โนเกีย)
ผู้ให้กำเนิดมาม่าคือ บริษัท ไทยเพรซิเด้นท์ ฟูดส์ จำกัด(มหาชน) หรือ TF ซึ่งอยู่ใต้ร่มธงของเครือสหพัฒน์ (บริษัทไทยเพรซิเด้นท์ ฟูดส์ จำกัด ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2515)
สาเหตุที่มาม่าได้รับความนิยมอย่างมากและต่อเนื่องนั้น ถ้าวิเคราะห์ตามหลัก 4Ps คือ Price ราคาที่ ถูก คือ 5 บาท โดยที่ทางสหพัฒฯได้เน้นที่ กลยุทธ์ Pricing เป็นอย่างมาก ทำให้มาม่ามีราคาขายแค่ 5 บาท เป็นเวลานานถึง 10 ปี
Place มาม่ามีวางจำหน่ายทุกร้าน ไม่ว่าจะเป็นร้านโชห่วย ห้างสรรพสินค้า หรือแผงหาบเร่ อีกทั้งยังครอบคลุมทุกพื้นที่ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่ที่ยากจะเข้าถึง(หมู่บ้านบนเขาหรือเกาะกลางทะเล)
Product มาม่ามีหลายรสชาติให้เลือก ไม่ว่าจะเป็น รสหมูสับ ต้มยำ ฯลฯ และมาม่ามักจะเป็นผู้นำทางด้านการคิดค้นรสชาติใหม่ๆเสมอ
Promotion มาม่ามีโปรโมชั่นการขายสินค้าที่หลายหลากและต่อเนื่องตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น ลด แลก แจก แถม ซึ่งเปลี่ยนสลับกันอย่างต่อเนื่องมาตลอด
นอกจากนี้ มาม่า ยังใช้กลยุทธ์ การสร้างมูลค่าเพิ่ม(Value Added) ด้วยวิธีการนำเสนอในรูปแบบ ถ้วยและชาม ที่เน้นความสะดวกในการทาน และยังสร้างภาพลักษณ์ให้กับยี่ห้อด้วยการ ออก แบบถ้วยกระดาษ ที่เน้นถึงความอนุรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย
ปัจจุบัน คนไทยทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 6 ล้านซองต่อวัน และเป็นการทานมาม่ามากกว่า 50%
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในยุคศตวรรษที่ 50 จนถึงปัจจุบัน และยังคงเป็นอาหารที่มีคนรับประทานในปริมาณต่อหน่วยต่อบุคคลมากที่สุด(ในกลุ่มชนชั้นกลางและกลางล่าง) อีกทั้งยังเป็นอาหารที่มีทานแทบจะทุกชนชาติ ทั้งๆที่ถือกำเนิดมาแค่ครึ่งศตวรรษ
บทที่
3
อุปกรณ์และวิธีการทดลอง
อุปกรณ์และวิธีการทดลอง
อุปกรณ์
1. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อมาม่า
รสต้มยำกุ้ง
2. หม้อ
3. จาน ชาม ช้อน ส้อม
4. น้ำ
2. หม้อ
3. จาน ชาม ช้อน ส้อม
4. น้ำ
วิธีการทดลอง
1. ต้มน้ำให้เดือดที่ 100C
2. นำบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 1 ก้อน ใส่ชาม
3. เทน้ำร้อนใส่ชามที่มีบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพื่อลวก นำจานมาปิดไว้ ทิ้งไว้ 3 นาที
4. นำบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอีกก้อนไปต้มเป็นเวลา 3 นาที
5. กรองเอาน้ำออกจากบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปให้เหลือแต่เส้นทั้งต้มและลวก
6. นำบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ต้มแล้วใส่ชาม
7. นำไปให้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิบคนชิมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั้งสองแบบ
8. ให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบสำรวจความพึงพอใจ และบันทึกผล
9. สรุปและอภิปรายผล
2. นำบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 1 ก้อน ใส่ชาม
3. เทน้ำร้อนใส่ชามที่มีบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพื่อลวก นำจานมาปิดไว้ ทิ้งไว้ 3 นาที
4. นำบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอีกก้อนไปต้มเป็นเวลา 3 นาที
5. กรองเอาน้ำออกจากบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปให้เหลือแต่เส้นทั้งต้มและลวก
6. นำบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ต้มแล้วใส่ชาม
7. นำไปให้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิบคนชิมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั้งสองแบบ
8. ให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบสำรวจความพึงพอใจ และบันทึกผล
9. สรุปและอภิปรายผล
บทที่
4
ผลการสำรวจ
ผลการสำรวจ
จากการสำรวจพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พึงพอใจบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบต้มมากกว่าแบบลวก
จากแบบสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 10 คน หลังจากที่กลุ่มตัวอย่างได้ชิมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั้งสองแบบแล้ว กลุ่มตัวอย่าง 7 คน พึงพอใจบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบต้ม แต่อีก 3 คนชอบแบบลวก
จากแบบสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 10 คน หลังจากที่กลุ่มตัวอย่างได้ชิมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั้งสองแบบแล้ว กลุ่มตัวอย่าง 7 คน พึงพอใจบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบต้ม แต่อีก 3 คนชอบแบบลวก
บทที่
5
สรุปและอภิปรายผลการทดลอง
สรุปและอภิปรายผลการทดลอง
สรุปผลการทดลอง
จากผลการสำรวจกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พึงพอใจบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบต้มมากกว่าแบบลวก เพราะว่าเส้นเหนียว นุ่ม มากกว่า เนื่องจากต้มในน้ำที่อุณหภูมิ 100C อยู่ตลอดเวลา แต่แบบลวกนั้นเราไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิของน้ำได้ เนื่องจากบะหมี่ลวกอยู่ในถ้วย และเมื่อเวลาผ่านไปก็ทำให้อุณหภูมิลดลงด้วย จึงทำให้เส้นไม่เหนียวนุ่มพอ
จากผลการสำรวจกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พึงพอใจบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบต้มมากกว่าแบบลวก เพราะว่าเส้นเหนียว นุ่ม มากกว่า เนื่องจากต้มในน้ำที่อุณหภูมิ 100C อยู่ตลอดเวลา แต่แบบลวกนั้นเราไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิของน้ำได้ เนื่องจากบะหมี่ลวกอยู่ในถ้วย และเมื่อเวลาผ่านไปก็ทำให้อุณหภูมิลดลงด้วย จึงทำให้เส้นไม่เหนียวนุ่มพอ
อภิปรายผลการทดลอง
ดังนั้น กลุ่มสำรวจจำนวน 7
คนจึงพึงพอใจในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบต้มมากกว่าแบบลวก
แต่ในขณะเดียวกันที่กลุ่มตัวอย่างอีก 3 คน
พึงพอใจในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบลวกมากกว่าแบบต้ม
อย่างไรก็ตามโครงงานเรื่องนี้ก็ไม่สามารถบอกได้แน่ชัดเสมอไปว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ปรุงโดยวิธีการแบบไหนอร่อยกว่ากัน เพราะว่าวิธีการรับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของแต่บุคคลไม่เหมือนกัน รสนิยมในการรับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันเช่นกัน
โครงงานนี้เป็นเพียงผลการสำรวจกลุ่มตัวอย่างเพียง 10 คนเท่านั้น จึงไม่สามารถบอกรสนิยมการรับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของบุคคลโดยทั่วไปได้ เนื่องมาจากมีขอบเขตในการสำรวจมากพอสมควร
อย่างไรก็ตามโครงงานเรื่องนี้ก็ไม่สามารถบอกได้แน่ชัดเสมอไปว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ปรุงโดยวิธีการแบบไหนอร่อยกว่ากัน เพราะว่าวิธีการรับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของแต่บุคคลไม่เหมือนกัน รสนิยมในการรับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันเช่นกัน
โครงงานนี้เป็นเพียงผลการสำรวจกลุ่มตัวอย่างเพียง 10 คนเท่านั้น จึงไม่สามารถบอกรสนิยมการรับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของบุคคลโดยทั่วไปได้ เนื่องมาจากมีขอบเขตในการสำรวจมากพอสมควร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น